การนอนหลับไม่เพียงพอ ไม่ได้กระทบแค่ความง่วงในวันถัดไป แต่ยังกระทบถึงระบบการทำงานของร่างกายหลายจุด รวมถึง "ตับ" ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของระบบล้างสารพิษ
(http://www.rophekathailand.com/wp-content/uploads/2025/05/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99-2.png)
❗ ผลกระทบของการอดหลับอดนอนต่อตับ
1. ภาระของตับเพิ่มขึ้น
- ช่วงเวลานอนหลับโดยเฉพาะช่วง 4 ทุ่ม - ตี 2 เป็นช่วงที่ ตับจะเข้าสู่โหมดฟื้นฟูและขจัดสารพิษ หากคุณยังไม่นอนในช่วงนั้น ระบบขับสารพิษชะงัก
2. เสี่ยงต่อ NAFLD
- มีงานวิจัยชี้ว่า การอดนอนหรือนอนน้อยเป็นประจำ ส่งผลให้ระดับอินซูลินเสียสมดุล และทำให้ตับเก็บไขมันมากเกินไป
3. ทำให้เซลล์ตับอักเสบ
- นอนน้อยสัมพันธ์กับสารอักเสบที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นตัวเร่งโรคตับอักเสบหรือตับแข็งในระยะยาว
4. ระบบล้างพิษของตับช้าลง
- หน้าที่สำคัญของตับคือการกรองของเสียทุกวัน
- การอดนอนทำให้เอนไซม์ในตับที่ใช้ขับสารพิษทำงานลดลง
5. เมตาบอลิซึมเสียสมดุล
- หากพักผ่อนไม่พอ ระบบเผาผลาญจะทำงานผิดปกติ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่คงที่ รวมถึงภายในตับ
✅ เคล็ดลับป้องกันตับล้า
- นอนให้พอ 6–8 ชั่วโมงต่อคืน
- นอนช่วง 22.00–23.00 เพื่อให้ตับพัก
- เลี่ยงชา น้ำอัดลมช่วงเย็น
- อาหารหนักตอนดึกเพิ่มภาระตับ
📌 สรุป: ตับต้องการการนอนพักเช่นเดียวกับอวัยวะอื่น
ดูแลตับง่าย ๆ เริ่มได้จากการเข้านอนให้เป็นเวลา
Tags :
ไขมันพอกตับ (https://www.rophekathailand.com/post/l/hepheka/fatty_liver)