(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2025/03/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%881-768x403.png)
บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ (https://www.narinthong.com/accounting/%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99/)
สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ที่เพิ่งเคยทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าครั้งแรก อาจคิดว่าคงเป็นเรื่องยาก แต่บทความนี้ นรินทร์ทอง (https://www.narinthong.com/) จะชวนพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทุกท่าน ไปทำความรู้จักกับ วิธีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพื่อช่วยควบคุมต้นทุนธุรกิจ ทั้งยังช่วยวางแผนภาษีให้ดียิ่งขึ้น
เรียนรู้การทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพิ่มเติมคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ (https://www.narinthong.com/accounting/%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99/)
บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า คือ
(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2025/03/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%882-768x768.png)
1.
รายจ่ายรายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินทั้งหมดที่ร้านค้าใช้ไปกับรายจ่ายต่างๆ ได้แก่ ต้นทุนสินค้า ต้นทุนวัตถุดิบ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ
2.
รายรับรายรับ คือ รายได้และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ทางตรงที่เกิดจากการขายสินค้า และบริการหรือรายได้ทางอ้อมในรูปแบบต่างๆ
3.
ต้นทุนหลักการทำบัญชีของรายรับรายจ่ายร้านค้า จะแยกต้นทุนออกจากรายการรายจ่าย เพราะต้องแยกให้ชัดเจนว่า ต้นทุนที่ทำให้เกิดรายได้มีอะไรบ้าง
บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า สำคัญอย่างไร
(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2025/03/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%883-768x768.png)
1.
รู้กำไร-ขาดทุนที่แท้จริงของกิจการ2.
ควบคุมค่าใช้จ่าย3.
วางแผนการเงินได้ดีขึ้น4.
ป้องกันปัญหาหนี้สิน5.
ช่วยจัดการสต๊อกสินค้า6.
ใช้เป็นข้อมูลสำหรับยื่นกู้กับสถาบันการเงิน7.
สะดวกต่อการจัดการภาษีในอนาคตทำความเข้าใจความสำคัญของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพิ่มเติมคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ที่นี่ (https://www.narinthong.com/accounting/%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99/)
วิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า
(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2025/03/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%884-768x768.png)
เราสามารถเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้าได้ง่ายๆ โดยใช้ "แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย" ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กำหนดของกรมสรรพากร (เราสามารถใช้แบบฟอร์มนี้ยื่นกับสรรพากรในกรณีที่มีการยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาได้)
ตัวอย่างแบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ตามแบบฉบับของกรมสรรพากร
(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2025/03/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%885-768x768.png)
- วัน/เดือน/ปี โดยต้องเป็นวันที่มีการรับเงิน หรือจ่ายเงินจริงเท่านั้น แต่สามารถลงบัญชีภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีธุรกรรมรายรับ-รายจ่ายเกิดขึ้น ก็ได้เช่นกัน
- รายรับที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้า, รายรับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล
- รายจ่าย-บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าตามแบบของกรมสรรพากร กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการแบ่งรายการรายจ่าย ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.รายจ่ายที่เป็นต้นทุนสินค้า และ 2.รายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ เป็นต้น
- หมายเหตุ - ใช้สำหรับระบุรายละเอียดเพิ่มเติมว่าธุรกรรมรายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นแบบจ่ายเงินสด หรือว่าเงินเชื่อ
ข้อควรรู้ของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า แต่ละขั้นตอน
- การจัดทำบัญชีต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ในกรณีที่เป็นภาษาต่างประเทศจะต้องมีภาษาไทยแปลความหมายกำกับ
- ต้องลงบันทึกรายการบัญชีภายใน 3 วันทำการ โดยนับแต่วันที่มีธุรกรรมรายได้-รายจ่ายใดๆ เกิดขึ้น
- นำรายการที่เกิดขึ้น (รายรับ-รายจ่าย) มากรอกในแบบฟอร์ม เราสามารถเลือกกรอกทั้ง 2 รูปแบบ "แบบยอดรวมแต่ละวัน" และ "แบบแยกทีละรายการ"
- ให้สรุปยอด รายรับ และ รายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วางแผนทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ นรินทร์ทอง คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ (https://www.narinthong.com/accounting/%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99/)
สรุปข้อดีของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า กับ นรินทร์ทอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า การทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก แต่อาจเป็นเรื่องที่หลายๆ คนเคยมองข้าม เพราะเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลา แต่จริงๆ แล้วการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ในการบริหารร้านค้าให้เติบโตได้อย่างมั่นคง หากผู้ประกอบการท่านใด ต้องการให้เราช่วยจัดทำบัญชีและภาษีร้านค้า หรือต้องการคำแนะนำในส่วนอื่นๆ สามารถปรึกษาได้ที่ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด (https://www.narinthong.com/) ทางเราให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial (https://www.facebook.com/NarinthongAccounting/NarinthongOfficial)
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong (https://lin.ee/pASiuNv)
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339